วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปเรื่อง พืช (คู่กับ นางสาว รัชดา เทพเรียน )






พืช


                  สำหรับบทนี้เราจะสำรวจความคิดรวบยอด ดังต่อไปนี้

- พืชมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรูปทรงเฉพาะตัว

- พืชส่วนใหญ่สร้างเมล็ดเพื่อเติบโตเป็นพืชต้นใหม่

- เมล็ดเติบโตเป็นพืชที่มีราก ลำต้น ใบเเละดอก

- พืชส่วนใหญ่ต้องการน้ำ แสงสว่าง แร่ธาตุ ความอบอุ่น เเละอากาศ

- พืชบางชนิดเติบโตจากราก

- สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่คล้ายพืชไม่มีเมล็ดหรือราก

- อาหารหลายชนิดที่เรากินคือเมล็ดพืช



ความคิดรวบยอด พืชมีหลายชนิดเเต่ละชนิดมีรูปทรงเฉพาะตัว


1.ส่วนต่างๆของพืชที่ต่างชนิดกันมีรูปร่างอย่างไร

       เป็นการให้นักเรียนได้รู้จักสังเกตเเละบอกลักษณความเหมือนเเละความแตกต่างของใบ เปลือกของ
ลำต้น เเละดอกไม้ที่ได้จาพืชต่างชนิดกันกิจกรรมนี้จะเเบ่งเป็นกลุ่มๆโดยให้เด็กหยิบสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ดอกไม้ เป็นต้นจากนั้นก็นำมาเเยกๆเเละเเบ่งใส่ถุงตามจำนวนกลุ่ม โดยครูจะมีไว้กับตัว1ถุง เมื่อครูหยิบสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ให้ถามนักเรียนว่าในถุงของนักเรียนมีเบบเดียวกับครูรึเปล่าลักษณะเหมือนกันมั้ย เป็นต้น


2.พืชบางชนิดพักผ่อนในฤดูหนาวอย่างไร




       เป็นการเรียนเเบบให้นักเรียนได้รู้จักสังเกตเเละบอกความเปลี่ยนแปลงของต้นไมเเละพุ่มไม้ตามฤดูกาลกิจกรรมครูจะต้องนำใบไม้มาสตาร์ฟไว้ก่อนหน้านี้เเละเเปะไว้ในกระดาน และติดชื่อของใบไม้ไว้ข้างล่างพานักเรียนออกนอกห้องเพื่อชมธรรมชาติ เเละให้นักเรียนสังเกตใบไม้ที่มีทั้งสีเขียวเเละสีน้ำตาล จากนั้นให้นักเรียนเก็บมาคนละ 1 ใบ แล้วนำกลับเข้ามาในห้องเรียนด้วย จากนั้นให้นักเรียนแยกตามชนิดเเละลักษณะของใบไม้ เลอธิบายสีที่เปลี่ยนให้นักเรียนฟัง



ความคิดรวบยอด พืชส่วนใหญ๋เมล็ดเพื่อเป็นพืชต้นใหม่

1.เรารู้อะไรเกี่ยวกับมล็ดพืชบ้าง

        เป็นการเรียนรู้เพื่อให้ทราบว่าพืชส่วนใหญ่สร้างเมล็ดที่จะเมล็ดที่จะโตเป็นพืชต้นใหม่ซึ่งเป็นพันธ์เดียวกับต้นเก่ากิจกรรมให้นักเรียนดูฝักดูฝักที่มีเมล็ด แกะฝักออกดู ให้นักเรียนใช้เวลาอย่างเต็มที่ช่วยกันคิดดูว่าผลไม้เเต่ละชนิดมีเมล็ดอยู่ข้างในหรือไม่ เก็บเมล็ดแตงเเละฟักไว้ จากนั้นค่อยให้นักเรียนล้างเเละเอาออกผึ่งแดดในถาดจนแห้ง เอาเก็บไว้สำหรับถาดอาหารนก ถ้ามีข้าวโพดที่ยังสด ดึงเปลือกออกไปมัดไว้ด้านบนเเล้วแขวนทั้งฝักให้แห้ง เมื่อแห้งเเล้วให้นักเรียนแกะเมล็ดออกเก็บไว้ให้นกเเละเอาไว้ทำกิจกรรมการงอกของพืช

2.เมล็ดกระจายไปได้อย่างไร

        การเรียนรู้ในเรื่องนี้เพื่อดูว่าเมล็ดของพืชชนิดต่างๆกิดขึ้นเเละกระจายไปได้อย่างไรกิจกรรม นำเมล็ดจากพืชสวนหลายๆชนิดเท่าที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาจัดวางใส่ถาด ให้นักเรียนเขย่าเมล็ดให้หลุดออกจากฝัก ใช้เเว่นขยายส่องดูเมล็ดพืชที่มีเปลือกเป็นตุ่มหนามเเละที่มีขน เพื่อให้เห็นตะขอล็กๆตรงปลายหนาม เอาเมล็ดพชที่มีปีก กับเมล็ดเปลือกเข็งให้นักเรียนลองโยนจากที่สูงเเละเปรียบเทียบกันว่ากิดอะไรขึ้นกับเมล็ดทั้ง 2 ชนิด



ความคิดรวบยอด เมล็ดเติบโตเป็นพืชที่มีราก ลำต้น ใบเเละดอก

1.ข้างในเมล็ดมีอะไรเพื่อสังเกตเเละดูส่วนต่างๆของเมล็ดกิจกรรม 
        ให้นักเรียนช่วยกันแกะเมล็ดออกดูต้นอ่อน และส่องดูด้วยเเว่นขยายให้เห็นชัดๆสังกตดูเมล็ดเเต่ละซีกนั้น ถ้าเป็นมล็ดจากผลแก่จดอาจเผยออกเอง เเละมีปลายรากโผล่ออกมาให้เห็นในกรณีนีก็ไม่ต้องลอกเปลือกออก

2.เมล็ดเริ่มงอกได้อย่างไร




       เพื่อสังเกตการเริ่มงอกของเมล็ดกิจกรรม สร้างโดมที่จะให้เมล็ดงอก ใช้สำลีหรือทรายกรุงตรงก้น
เเก้วนำเมล็ดถั่วใส่ลงไป จากนั้นนำแก้วอีกใบมามาครอบทับ ใช้เทปใส่เเปะรอบขอบแก้ว วางไว้อย่าให้
โดนแดด นำเมล็ดถั่วอย่างละเมล็ดใส่ไว้ในหลอดใ่ยาฉีดไว้เปรียบเทียบภายหลัง จากนั้นเริ่มจดบันทึก
การเปลี่ยนแปลงต้งเต่วนแรกที่ปลูก


3.รากเเละลำต้นเจริญเติบโตได้อย่างไร

         การเรียนรู้นี้เพื่อให้สังเกตว่ารากมีเเนวโน้มจงอกลงข้างล่างไปหาน้ำ ส่วนลำต้นมีเเนวโน้มจะงอกขึ้นข้างบนไปหาเเสงสว่างกิจกรรม สังเกตการงอกของรากเเละลำต้นว่าไปทิศทางใด เเละเป็นเช่นเดียวกันนี้ทุกเมล็ดหรือไม่ค่อยๆพลิกเมล็ดที่กำลังงอกคว่ำลง ทำให้ลำตนชี้ลง ส่วนรากชี้ขึ้น ทำเครื่องหมาย Xไว้ข้างต้นก้นแก้ว ตรววจความเปลี่ยนแปลงจากการเจริญเติบโต




ความคิดครวบยอด พืชส่วนใหญ่ต้องการน้ำ แสงสว่าง แร่ธาตุ ความอบอุ่น เเละอากาศ

1.พืชต้องการอะไรในการงอก

         เพื่อให้ทราบเละจัดหาสิ่งที่ช่วยการงอกของเมล็ดเละการเจริญเติบโตของพืชกิจกรรม เอาดินใส่ในเปลือกไข่หรือกระถางจนเกือบเต็ม ฝังปลือกไข่ลงไป ฉีดน้ำให้ดินชุ่ม วางเมล็ดพืชหนึ่งเมล็ดลงบนดิน ปิดถาดด้วยฝาพลาสติกเเละพันรอบด้วยเทปกาวพอเห็นรากงอกให้เอาฝาออกเริ่มมจดบันทึกขั้นตอนของการงอกเป็นประจำทุกวัน


2.พืชนำน้ำไปใช้ได้อย่างไร

        ให้สังเกตว่าพืชดูดความชื้นผ่านลำต้นได้อย่างไรกิจกรรม ให้นักเรียนคอยสังเกตดูว่าน้ำซึมเข้าอย่างไร ประมาณ 1 ชั่วโมงตรวจดูรอยจางๆ ของสีปลายใบ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนดูการเปลี่ยนแปลงของการดูดซึมน้ำของใบไม้ลำต้นเเละส่วนต่างๆ




ความคิดรวบยอด  พืชบางชนิดงอกจากราก


1. เราจะทราบอะไรจากการปลูกมันฝรั่งบ้าง





สังกตการขยายพันธ์ุพืชจากราก

        กิจกรรมหาคำตอบ ถามนักเรียนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่พืชจะงอกจากส่วนอื่นนอกจากเมล็ดฟังความคิดเห็นจากนักเรียนและช่วยจัดให้มีการทดลองสภาพการงอกในแบบต่างๆให้นักเรียนเขียนบันทึกการงอกของพืชทุกวัน หรือวาดภาพตามที่สังเกตเห็น


ความคิดรวบยอด สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่คล้ายพืชไม่มีเมล็ดหรือราก

         ให้สังเกตการเจริญเติบโตเเละพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายพืช

กิจกรรม นำขนมปัง 1 แผ่น ลงไปในขวดปากกว้าง 2ใบ ใบละครึ่งแผ่น พรหมน้ำไว้ ปิดฝาหนึ่งขวดอีกขวด

หนึ่งเปิดไว้ ทิ้งไว้เเล้วก็นำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่าราจะขึ้นได้อย่างไรเเล้วขึ้นในที่ไหนมากกว่ากัน


ความคิดรวบยอด อาหารหลายชนิดที่เรากินคือเมล็ดพืช

          เมล็ดพืชชนิดใดรับประทานได้ เพื่อให้นักเรียนประสบด้วยตนเองว่ามีเมล็ดพืชหลายชนิดที่เราใช้เป็นอาหาร

กิจกรรม ให้นักเรียนเห็นว่าเมล็ดธัญพืชกลายเป็นแป้งได้อย่างไร

การบด โดยใช้เครื่องบดไฟฟ้า บดข้าวสาลี

การอบ อบเมล็ดทานตะวันเเละเมล็ดฟักทอง

การหุง หงข้าวตามวิธี


การคั่วข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดแตกออกมื่อโดนความร้อน




กิจกรรมบูรณาการ

กิจกรรมคณิตศาสตร์

        การบันทึกข้อมูล  ขณะออกไปเดินเก็บวัสดุในธรรมชาติ ให้นำถุงขนาดใหญ่ไปใส่สิ่งที่พบ จากนั้นนำมาคัดแยกชนิด จัดแบ่งเป็นกลุ่มและหัดนับจำนวน บันทึกผลไว้บนกระดาน ป้าย หรือบนแผนภูมิประสบการณ์ ถ้าเป็นเด็กเล็กให้บันทึกเป็นตัวเลขและใช้วัสดุแสดงเป็นตัวอย่าง ถ้าเป็นเด็กที่เริ่มหัดอ่านแล้วให้บันทึกเป็นตัวเลขและเขียนเป็นคำ
เช่น เราพบใบไม้ 12 ใบ ผลโอ๊ค 10 ผล เปลือกไม้ 8 ชิ้น มอส 1 ชิ้น เป็นต้น

         ดนตรี
ร้องเพลงเด็กๆ ที่เกี่ยวกับพืชเหล่านี้ เช่น
1. ร้องเพลง " The Tree in the Woods "
2. ร้องเพลงจากหนังสือ The 2 Raffi Songbook : " In My Garden " ( อาจจะให้นักเรียนทำท่าทางตามเนื้อเพลง ) เป็นต้น

         เพลงไทย
1. เพลง "ส้มตำ"
2. เพลง "มาร์ชผัก"

         หนังสือ

เช่น
        BUNTING, EVE. (1994). Flower Garden. San Diego, CA : Harcourt Brace. ภาพวาดที่มีสีสันสวยงามทำให้นิทานของเด็กเรื่องการปลูกดอกไม้กระถางให้แม่

        JORDAN, HELENE. (1992). How a seed grows. New York : Harper Collins. บรรยายวิธีการปลูกถั่วที่ทำตามได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับนักเรียนก่อนวัยเรียน

        บทกลอน
เช่น
        บทกลอนของ X. J. Kennedy ชื่อ "Art Class" ในหนังสือ I Thought I'd Take My Rat to School โดย Dorothy Kennedy (Ed). เล่าถึงการคาดเดาของเด็กคนหนึ่งในการวาดภาพต้นไม้



กิจกรรมศิลปะ

       การทำภาพจากเศษวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ดอกไม้อัดแห้ง เมล็ดพืชแบนๆและกิ่งไม้แห้ง ล้วนแต่เป็นวัสดุที่นำมาติดเป็นภาพได้สวยงาม

       การฝนภาพ  เช่น การนำใบไม้ 1 ใบ ติดด้วยเทปกาวบนโต๊ะตรงหน้า นักเรียนทุกคนเอากระดาษ 1 แผ่นที่ไม่บางนักวางข้างบนใบไม้ ให้นักเรียนใช้ดินสอเทียนฝนบนกระดาษให้เกิดเป็นภาพลายเส้นของใบไม้ส่วนที่นูนขึ้นมา เป็นต้น


กิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์

กรณีตัวอย่าง  เช่น ครูหมอบคุดคู้อยู่บนพื้นกับนักเรียน สมสติว่า เป็นเมล็ดืชที่ปลูกในฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นครูและนักเรียนเคลื่อนไหวพร้อมกันตามนิทานที่ครูเป็นผู้เล่าจนจบ เป็นต้น


กิจกรรมสำรวจเงียบๆนอกห้องเรียน

เช่น ครูพานักเรียนออกไปสำรวจบริเวณที่มีวัชพืชขึ้นเป็นหย่อมๆ ใกล้โรงเรียน จากนั้นให้รายงานว่าเห็นอะไรบ้างในพื้นที่สำรวจนั้นและทำแผนภูมิสรุปการสังเกต






สร้างเสริมการเชื่อมโยงความคิดรวบยอด

การคงความคิดรวบยอดไว้

      การมีต้นไม้ใส่กระถางไว้เป็นแถวบนขอบหน้าต่างห้องเรียน เป็นเครื่องประกันว่านักเรียนจะต้องดูแลเอาใจใส่พืชให้งอกงามตลอดทั้งปี กิจกรรมการดูแลพืชจะอยู่บนแผนภูมิงานประจำวันของนักเรียนในตำแหน่งที่เด่นเห็นได้ชัด

การเชื่อมโยงความคิดรวบยอด

     ความสัมพันธ์กับการทำดิน  การทำดินให้อุดมสมบูรณ์เป็นการแสดงให้เห็นถึงวงจรธรรมชาติในการปรับสภาพวัสดุที่มีจำนวนจำกัดของระบบนิเวศได้อย่างชัดเจน

     พืชช่วยย่อยให้หินมีขนาดเล็กลง ตะไคร่น้ำ คือ พืชจำพวกเห็ด รา และ สาหร่าย ที่ขึ้นรวมกันอยู่เป็นกระจุก พวกนี้จะสร้างกรดที่ค่อยๆย่อยสลายผิวหน้าของก้อนหินได้

      อากาศ  ลม ช่วยพัดให้เมล็ดดอกหญ้าที่มีขนจำพวกแนดีไลออน และมิลค์วีค ปลิวไปได้ไกลโดยมีขนทำหน้าที่เหมือนร่มชูชีพ ลมช่วยพาเมล็ดที่มีปีกจากต้นมเปิลและต้รแอชหมุนคว้างลงมาจากต้นแม่ เพื่อไปงอกเป็นต้นใหม่ในที่ไกลออกไป

      วัฏจักรของน้ำ / อากาศ  เวลารน้ำต้นไม้ให้ใช้คำว่า การระเหย  น้ำบางส่วนจะถูกรากของพืชดูดซึมขึ้นไป ส่วนที่เหลือจะระหยไป

การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน

        ครูอาจให้นักเรียนไปเล่าความคืบหน้าของกิจกรรมการเพาะเมล็ดของนักเรียนให้ผูปกครองฟัง         ผู้ปกครองอาจช่วยเก็บสะสมเปลือกไข่ไว้ให้ถ้ามีการใช้เปลือกไข่ในโครงงานการเพาะเมล็ด คอยหาที่ปลูกที่เหมาะสม และคอยช่วยเหลือดูแลให้นักเรียนเอาใจใส่ดูแลพืชที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล



Notes Tuesday August 25 2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 


The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

* * *  1. ปรับปรุงการทำบล็อค เกี่ยวกับ องค์ประกอบในบล็อคต่างๆให้ถูกต้องและเหมาะสม และควรไปปรับแก้หรือเพิ่มเติมในบางส่วนภายในบล็อค

          2. ให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าความรู้นอกห้องเรียนที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นก็แบ่งหัวข้อเรื่องต่างๆ อ่านและสรุปใจความสำคัญ


Skills : ทักษะ

1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. ระดมความคิดเกี่ยวกับการหาหนังสือวิทยาศาสตร์แต่ละเล่ม


Adoption : การนำไปใช้

1. นำความรู้ที่ศึกษาค้นคว้ามาไปใช้บูรณาการในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้
2. ศึกษาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเพื่อนในห้องเรียนแล้วนำมาบูรณาการได้


Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์ความรู้ที่ได้จากหนังสือวิทยาศาสตร์


Assessment : การประเมิน
ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสายนิดหน่อย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ เนื้อหา

                  ในหนังสือของแต่ละคน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน 

                 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ห้องสมุดเรียบร้อย มีหนังสือพร้อมศึกษาค้นคว้า





วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558


Article

แหล่งอ้างอิง : นางสาวจีเรียง  บุญสม
                       โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี 
                       ระดับชั้น  อนุบาล  1 – 2 (อายุ 4-5 ปี)

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตุ สำรวจ บันทึกข้อมูลและนำเสนอข้อมูลดอกไม้ที่สนใจ
2. เรียงลำดับภาพการเจริญเติบโตของดอกไม้ได้อย่างถูกต้อง
3. เลือกวิธีและสร้างผลงานเกี่ยวกับดอกไม้

ความเป็นมา

     ครูและนักเรียนชั้น อ. 1 และ อ. 2 สนทนาพูดคุยถึงเหตุการณ์การถ่ายทำวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งตอนที่ถ่ายทำคือ หน่วยดอกไม้แสนสวย กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง การเจริญเติบโตของดอกไม้ แต่ขณะที่ถ่ายทำเด็กๆสงสัยว่า เมื่อดอกไม้เป็นอย่างไร?จากนั้นเด็กๆ จึงร่วมกันหาคำตอบจากประสบการณ์จริง

กระบวนการเรียนรู้  

       เด็กๆเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยเริ่มจากสิ่งที่เด็กๆสงสัย  จากนั้นให้เด็กๆลองคาดคะเนการเจริญเติบโตของดอกไม้ จากนั้นให้เด็กวางแผนและปฏิบัติตามแผนโดยการสังเกตุความเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของดอกไม้และมีการจดบันทึกและมีการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ หลังจากศึกษารวบรวมข้อมูล เด็กๆร่วมกันสนทนาและสรุปถึงความลับของดอกไม้ตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งร่วงหล่นแล้วเด็กๆก็ได้สร้างผลงานตามกลุ่ม  เช่น วาดภาพ เป็นต้น

ผลที่เกิดกับเด็ก หรือ พัฒนาการของเด็กที่เกิดจากการเรียนรู้

       เด็กมีพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กับตา ด้วยการวาดภาพ การประดิษฐ์ดอกไม้ พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ มีความสนุกสนานในการเรียนรู้ ได้ออกมานอกห้อง ด้านสังคม ได้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และด้านสติปัญญา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของดอกไม้แต่ละชนิด และยังมีทักษะทางวิทยาศาสตร์

Notes Tuesday August 18 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

*** คำสำคัญในรายวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




*** พัฒนาการทางสติปัญญา

         พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงและความสามารถที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ
         สติปัญญา  เกิดจาก การปรับพฤติกรรมให้เกิดภาวะสมดุล

         พัฒนาขั้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ ( Interaction ) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
คือ 1. กระบวนการดุดซึม ( Assimilation )
      2. กระบวนการปรับโครงสร้าง ( Accommodation )

 ดังนั้น การมีปฏิสัมพันธ์ คือ การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการดูดซึมสิ่งใหม่เข้ามาและปรับโครงสร้างให้สอดคล้องเหมาะสมรับสิ่งใหม่เข้ามาตลอดเวลา


Skills : ทักษะ
1. ระดมความคิดเกี่ยวกับ " พัฒนาการทางสิติปัญญา "
2. ให้เขียนความหมายของพัฒนาการทางสติปัญญา มา 1 ประโยค ให้ได้ใจความ


Adoption : การนำไปใช้

1. นำไปใช้ในการบูรณาการในการเขียนแผนการสอน
2. นำไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของพัฒนาการ


Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การระดมความคิด
2. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
3. การบรรยาย
4. กรณีตัวอย่าง


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนของครู

เพื่อน   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสายนิดหน่อย ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี

ครูผู้สอน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน

ห้องเรียน  ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน


วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Notes Tuesday August 11 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

* * * อาจารย์แนะแนวการสอนและพูดถึงข้อตกลงของการเข้าเรียน การส่งงาน การตรวจบล็อค
องค์ประกอบของบล็อค การจัดระบบของบล็อค และมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์

* * * พูดถึง " วิทยาศาสตร์ (Science)" คุณนึกถึงอะไร?




Skills : ทักษะ

* * * ระดมความคิดเกี่ยวกับคำว่า " วิทยาศาสตร์ (Science) คณิตศาสตร์ (Mathematic) และสติปัญญา (Intelligence) "


Adoption : การนำไปใช้

* * * นำวิธีการสอนของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งๆขึ้นไป
   

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1.การใช้คำถาม
2.การบรรยาย
3.การใช้กราฟฟิคและมายแม๊ป


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง
        เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่ครูสอน

เพื่อน
        เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร่วมกันมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของครู

ครูผู้สอน
         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา อธิบายแนวการสอนได้อย่างครบถ้วนชัดเจน

ห้องเรียน
         อุปกรณ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์พร้อมใช้งานดีมาก