วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday September 22 2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ -^ นำเสนองานวิจัย ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เลขที่ 20 นางสาว วราภรณ์  แทนคำ
เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปได้ว่า (In conclusion,) วิจัยเรื่องนี้ เขามีการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร เลือกหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมที่ทำ คือ ใช้ชุดกิจกรรม 20 ชุด ชุดละ 1 ชม./ 1 คน ครุใช้คำถามในการกระตุ้นให้เด็กคิดและแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้ในวิจัยนี้คือเรื่อง ผลไม้ ต้นไม้ วิทย์น่ารู้ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ที่เด็กได้ในวิจัยครั้งนี้คือ
1.การจำแนก/แยกประเภท
2.การสังเกต
3.มิติสัมพันธ์

เลขที่ 19 นางสาว ยุภา  ธรรมโครต
เรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  วิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังทำกิจกรรม ผลการศึกษา พบว่า ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาตร์ระดับกลาง หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาตร์ระดับมากที่สุด สรุปผลวิจัยคือ เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ดีจากการจัดกิจกรรม

^ -^ นำเสนอสื่อ/ของเล่นวิทยาศาสตร์






ภาพขั้นตอนการทำ " บ้านหรรษาพาเพลิน " 





ชื่อ " บ้านหรรษาพาเพลิน "

อุปกรณ์
1. ไม้ไอติม
2. กรรไกร
3. กาวร้อน/กาวลาเท็ก
4. เทปใส
5. แผ่นซีดี

ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน สะดวกในการหยิบจับ พร้อมทั้งวางดครงบ้าน
2. นำไม้ไอติมมาเรียงต่อ หรือ ไขว้กันไปมาและทากาวเพื่อให้ไม้ไอติมติดกันทำ 3 ด้าน เพื่อนำมาประกอบเป็นผนังของบ้าน และทำหลังคาบ้าน
3. จากนั้นนำไม้ไอติมที่เราเรียงและติดกาวไว้ มาประกอบเป็นบ้านโดยใช้กาวร้อนยึดตัวบ้านไว้ แล้วนำแผ่นซีดีมาติดบนหลังคาบ้านเพื่อใช้ในการเรียนรู้เรื่องของแสงจากแผ่นซีดี

วิธีเล่น/หลักการวิทยาศาสตร์

      เด็กๆสามารถนำบ้านหรรษาพาเพลินนี้ไปเล่นในมุมบทบาทสมมติหรือนำมาทดลองวิทยาศาสตร์ได้ โดยบ้านหลังนี้จะสอนทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง " การเกิดแสงและการสะท้อนของแสง " ซึ่งแสงที่เกิดมาจากแสงกระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) อาจจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เช่น แสงจากไฟฉาย แสงจากโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อแสงมากระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) ก็จะทำให้แสงที่สะท้อนจากแผ่นซีดีบนหลังคาบ้านเกิดเป็นแสงสีรุ้งนั่นเอง

แสงสีรุ้ง เกิดจาก การหักเหของแสงสีขาว ผ่านร่องเล็กๆบนแผ่นซีดี และขณะที่เกิดการหักเหของแสงก็เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า " การแทรกสอด " บนแผ่นซีดี
                     

 Skills : ทักษะ

1. นำเสนอบทความ งานวิจัย และของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
2. ระดมความคิด และวิเคราะห์สื่อของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

Adoption : การนำไปใช้

1. นำสื่อ/ของเล่นไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
2. นำแนวการคิดของนักการศึกษาแต่ละท่านไปวิเคราะ - สังเคราะห์และบูรณาการการใช้สื่อ/ของเล่นในการสอนวิทยาศาสตร์ภายในห้องเรียนได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ สื่อ/ของเล่นที่เกี่ยวกับ
                  วิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆนำมานำเสนอทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน

                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ระหว่างนำเสนอ


ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน




วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday September 15 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ - ^ การทำงานของสมอง  




        
^ -^ หลักการ / แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
นักการศึกษา
1.กีเซล          
 - พูดถึงพัฒนาการของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอน
2. ฟรอยด์ 
- เด็กพัฒนาตามลำดับขั้น 5 ขั้น 
คือ ขั้นปาก 
      ขั้นทวารหนัก 
      ขั้นอวัยวะเพศ 
      ขั้นแฝงหรือขั้นก่อนวัยรุ่น
      ขั้นสนใจเพศตรงข้าม
3. อิริคสัน  
- กล่าวถึง สภาพทางจิต – สังคม รวมไปถึงลักษณะการอบรม เลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่าง พ่อ – แม่ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมในสังคม
4. เพียเจต์
- กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น 
5. ดิวอี้
- เรียนรู้โดยการลงมือกระทำ
       
หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย  จะต้องพัฒนาเด็กให้ครบทุกัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดลยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชมชน


^ - ^ การเรียนรู้แบบองค์รวม



แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์      

1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. ความสมดุล
5. การพึ่งพาอาศัยกัน

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์

1.ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

1. ตอบสนองความต้องการของเด็ก
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เสริมสร้างประสบการณ์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

1.พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
2.พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
3.สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


^ - ^ นำเสนอบทความ

เลขที่ 23 นางสาว สจิตรา  มาวงษ์    เรื่อง แนวทางการสอนคิดเติมวิทย์ให้กับเด็กอนบาล  
ของ ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว

          สรุปได้ว่า  (In conclusion,)  เขาสอนวิทยาศาสตร์โดยองค์รวม ผ่านธรรมชาติรอบตัว ผ่านกิจกรรมให้เด็กได้เล่นได้สัมผัสกับธรรมชาติตามแนวทางการบูรณาการของครูผู้สอน โดยมีแนวทาง 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การตังคำาม
2. การหาคำตอบด้วยตนเอง
3. ครูถามและเสริมในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอผลงาน
5. เชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์

เลขที่ 22 นางสาว ประภัสสร  สีหบุตร   เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย  
โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

        สรุปได้ว่า  (In conclusion,) สสวท. ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านนิทาน” ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษา เสีง  ความคิดสร้างสรรค์ และมีการบูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้ เด็กรู้จักเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

- เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
- เมื่อเอาการทำงานของสมองมาจัดลำดับอายุจทำให้เกิด " พัฒนาการ " แต่ละช่วงวัย


Skills : ทักษะ

1. นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
2. ระดมความคิด ในการเสนอแนวคิดการประดิษฐ์สื่อเกี่ยววิทยาศาสตร์

Adoption : การนำไปใช้

1. นำแนวการสอนโดยองค์รวมของเพื่อนที่นำเสนอบทความไปใช้ในการจัดการเรียนสอนได้
2. นำแนวการคิดของนักการศึกษาแต่ละท่านไปวิเคราะ - สังเคราะห์และบูรณาการใช้ในการเขียนแผนการสอนและจัดกิจกรรม


Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม - มายแม๊ปปิ้ง
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. กรณีตัวอย่าง


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ เนื้อหา ระดมความคิด

                   ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน

                 ทดสอบองค์ความรู้เดิมของนักศึกษา


ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน






Notes Tuesday September 5 2558


บันทึกการเรียนครั้ง 5

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ - ^ เรียนรู้ทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมกับเด็กได้ เช่น





^ - ^ นำเสนอสื่อที่ใช้จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย โดยแต่ละคนได้กระดาษเปล่าไปคนละ 1 แผ่น แล้วประดิษฐ์สื่อออกมา ตัวอย่าง เช่น









เกร็ดความรู้เพิ่มเติม




Skills : ทักษะ

1. กระดาษ 1 แผ่น ทำยังไงเด็กถึงจะได้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ?
2. คิดวิเคราะห์

Adoption : การนำไปใช้

1. นำตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสอนความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้
2. นำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้บูรณาการกับวิชาอื่นๆได้


Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ให้นักศึกษาทำกิจกรรมที่ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์ความรู้ที่ได้จากหนังสือวิทยาศาสตร์
4. ยกตัวอย่าง


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้อง

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสายนิดหน่อย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ เนื้อหา

                  ในเรื่องของแต่ละคู่ที่หากันมา ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน

                 จัดกิจกรรมที่พัฒนาสติปัญญาทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในเรื่องเดียวกัน


ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน






วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday September 1 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

    ^ - ^ เข้าร่วมกิจกรรม  " ศึกษาศาสตร์วิชาการ " 

คณะศึกษาศาสตร์มีการจัดโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ ในวันที่ 1 กันยายน 2558 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร 28 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ช่วงเช้าฟังบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง "ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"บรรยายโดย อ.ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ


  • ครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมีลักษณะที่เรียกว่า " E-Teacher "
1. ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนเองสู่นักเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เช่น เรียนผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet , E-mail เป็นต้น

3. ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อผู้เรียน ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี

4. ครูในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการแสวงหาความรู้ของตนเองตลอดเวลา ผ่านสื่อเทคโนโลยี

5. ครูในศตวรรษที่ 21 เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล

6. ครูในศตวรรษที่ 21 เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยี (user) อย่างคุ้มค่า และใช้ได้อย่างหลากหลาย

7. ครูในศตวรรษที่ 21 สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในที่เป็นผู้ผลิตความรู้ ผู้กระจายความรู้ และผู้ใช้ความรู้

8. ครูในศตวรรษที่ 21 สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

9. ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน ผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ เช่น เกิดชุมชนครูบน web

       สรุป

การเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 ต้องก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่การเรียนรู้ " ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 " ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนด้วยตนเอง  โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ชและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แบบ PBL ( Problem-Based Learning ) ของนักเรียน ซึ่งงสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้ คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชุมชนเกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง 


Skills : ทักษะ

1.ได้ทักษะการสอนที่ใช้สื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในยุคศตวรรษที่ 21


Adoption : การนำไปใช้

1. นำความรู้ที่ได้จากการฟังวิทยากรพูดถึงการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ไปบูรณาการใช้ในอนาคต
2. นำเทคนิคการค้นหาข้อมูลจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้


Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ให้นักศึกษาเข้าร่วมงาน ศึกษาศาสตร์วิชาการ พร้อมกับวสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการฟัง