วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday September 22 2558




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ -^ นำเสนองานวิจัย ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เลขที่ 20 นางสาว วราภรณ์  แทนคำ
เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปได้ว่า (In conclusion,) วิจัยเรื่องนี้ เขามีการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร เลือกหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมที่ทำ คือ ใช้ชุดกิจกรรม 20 ชุด ชุดละ 1 ชม./ 1 คน ครุใช้คำถามในการกระตุ้นให้เด็กคิดและแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้ในวิจัยนี้คือเรื่อง ผลไม้ ต้นไม้ วิทย์น่ารู้ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ที่เด็กได้ในวิจัยครั้งนี้คือ
1.การจำแนก/แยกประเภท
2.การสังเกต
3.มิติสัมพันธ์

เลขที่ 19 นางสาว ยุภา  ธรรมโครต
เรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  วิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังทำกิจกรรม ผลการศึกษา พบว่า ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาตร์ระดับกลาง หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาตร์ระดับมากที่สุด สรุปผลวิจัยคือ เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ดีจากการจัดกิจกรรม

^ -^ นำเสนอสื่อ/ของเล่นวิทยาศาสตร์






ภาพขั้นตอนการทำ " บ้านหรรษาพาเพลิน " 





ชื่อ " บ้านหรรษาพาเพลิน "

อุปกรณ์
1. ไม้ไอติม
2. กรรไกร
3. กาวร้อน/กาวลาเท็ก
4. เทปใส
5. แผ่นซีดี

ขั้นตอนการทำ
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน สะดวกในการหยิบจับ พร้อมทั้งวางดครงบ้าน
2. นำไม้ไอติมมาเรียงต่อ หรือ ไขว้กันไปมาและทากาวเพื่อให้ไม้ไอติมติดกันทำ 3 ด้าน เพื่อนำมาประกอบเป็นผนังของบ้าน และทำหลังคาบ้าน
3. จากนั้นนำไม้ไอติมที่เราเรียงและติดกาวไว้ มาประกอบเป็นบ้านโดยใช้กาวร้อนยึดตัวบ้านไว้ แล้วนำแผ่นซีดีมาติดบนหลังคาบ้านเพื่อใช้ในการเรียนรู้เรื่องของแสงจากแผ่นซีดี

วิธีเล่น/หลักการวิทยาศาสตร์

      เด็กๆสามารถนำบ้านหรรษาพาเพลินนี้ไปเล่นในมุมบทบาทสมมติหรือนำมาทดลองวิทยาศาสตร์ได้ โดยบ้านหลังนี้จะสอนทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง " การเกิดแสงและการสะท้อนของแสง " ซึ่งแสงที่เกิดมาจากแสงกระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) อาจจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา เช่น แสงจากไฟฉาย แสงจากโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อแสงมากระทบกับวัตถุ (แผ่นซีดี) ก็จะทำให้แสงที่สะท้อนจากแผ่นซีดีบนหลังคาบ้านเกิดเป็นแสงสีรุ้งนั่นเอง

แสงสีรุ้ง เกิดจาก การหักเหของแสงสีขาว ผ่านร่องเล็กๆบนแผ่นซีดี และขณะที่เกิดการหักเหของแสงก็เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า " การแทรกสอด " บนแผ่นซีดี
                     

 Skills : ทักษะ

1. นำเสนอบทความ งานวิจัย และของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
2. ระดมความคิด และวิเคราะห์สื่อของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

Adoption : การนำไปใช้

1. นำสื่อ/ของเล่นไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
2. นำแนวการคิดของนักการศึกษาแต่ละท่านไปวิเคราะ - สังเคราะห์และบูรณาการการใช้สื่อ/ของเล่นในการสอนวิทยาศาสตร์ภายในห้องเรียนได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ สื่อ/ของเล่นที่เกี่ยวกับ
                  วิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆนำมานำเสนอทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน

                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ระหว่างนำเสนอ


ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น