วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday November 24 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^_^ Presented article : นำเสนอบทความ

เลขที่ 5 นางสาว รัชดา   เทพรียน
เรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่”  เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย 
         จากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549  พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า  มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู  สสวท.  จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้   และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546   เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ

        ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปใน
ทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่



เลขที่ 4 นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    ผู้แต่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  :  วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น   เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ


เลขที่ 3 นางสาว ชนาภา  คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

สรุปได้ว่า  (In conclusion,)     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย  เนื้อหา 3 ประการดังนี้ 
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้ 
1.เราต้องการค้นหาอะไร 
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง 
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 
         ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ 
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป



เลขที่ 22  นางสาว ชนากานต์  พงษ์สิทธิศักดิ์
เรื่อง  อากาศ (Teaching Children about weather)

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  : จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด
         เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม


^_^ Research presentation : นำเสนองานวิจัย

เลขที่ 1 นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

สรุปได้ว่า (In conclusion,) การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์

ความมุ่งหมาย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ขอบเขตของการวิจัย
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน

ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์

     จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้

1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ

^_^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู

เลขที่ 8  นางสาว กรกช  เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

สรุปได้ว่า  (In conclusion,) (เรื่อง ไข่ ) ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง

(เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง




Skills : ทักษะ

- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ



Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำแนวทางการสอนจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ได้
2. นำตัวอย่างงานวิจัยไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย
3. นำบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไป มาประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการนำไปจัดกิจกรรมได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. วิเคราะห์แผนการสอน วิเคราะห์บทความ งานวิจัย และโทรทัศน์ครู
5. การยกตัวอย่าง


Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน นำเสนองานวิจัยที่ตนเองได้รับมอบหมาย

เพื่อน          แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ร่วมกันวิเคราะห์
                   บทความ งานวิจัย และโทร?ัศน์ครูที่เพื่อนๆมานำเสนอ ทุกคนมีความสามัคคีกับเพื่อน
                   ร่วมห้องเป็นอย่างดี

ครูผู้สอน     แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายแผนการสอนเพิ่มเติมเพื่อ
                   ให้นักศึกษานำไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนได้

ห้องเรียน    ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน




วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday November 17 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14



The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^_^ การทำ Cooking ขนมโค ข้าวจี่ และหวานเย็นชื่นใจ

1. กลุ่มขนมโค :
ฐานที่ 1  ผสมแป้ง
ฐานที่ 2  ปั้นแป้ง+ใส่ไส้
ฐานที่ 3  นำแป้งที่ปั้นไว้ไปต้ม
ฐานที่ 4  เมื่อแป้งสุก แป้งก็จะลอยตัวขึ้นมา นำไปคลุกมะพร้าว

***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง
- กำหนดปัญหา
: เด็กๆ คิดว่า "ทำอย่างไรขนมโคถึงจะกินได้"

- การตั้งสมมติฐาน
: เด็กๆ คิดว่า "เมื่อนำขนมโคไปต้มแล้วจะเกิดอะไรขึ้น"

- การรวบรวมข้อมูล
: เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ สี ขนาด รูปทรงต่างๆของขนมโค

- สรุปผล

 : เด็กได้รู้ว่าขนมโคสุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการต้มถึงจะได้เป็นสีที่น่าทาน




2. กลุ่มข้าวจี่ :
กลุ่มที่ 1  ปั้นข้าวเหนียว ใส่ไส้หมูหยอง ใส่ไม้
กลุ่มที่ 2  นำไปปิ้งให้ข้าวเกาะตัวกัน
กลุ่มที่ 3  จากนั้นนำไปชุปไข่แล้วนำไปปิ้งจนพอใจแล้วนำมารับประทานได้เลย


***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- กำหนดปัญหา
: เด็กๆ คิดว่า "ทำอย่างไรให้ไข่สุก" หรือ "ทำอย่างไร่ไข่ถึงจะกินได้"

- การตั้งสมมติฐาน
: เมื่อข้าวชุบไข่โดนความร้อนของเตาจะเป็นอย่างไร?

- การรวบรวมข้อมูล
: เมื่อทำเสร็จเเล้วก็เอาของเด็กเเต่ละคนมาวางเรียงกัน เราก็จะรู้ว่าเเต่ละจานนั้นมีสีที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเอาทาโกยากิปิ้งในเตานานเเค่ไหน ถ้าปล่อยไว้นานสีก็จะเหลืองเข้มๆถ้าปล่อยไว้ไม่นานสีก็จะเหลืองอ่อน

- สรุปผล
 : เด็กๆ ได้รู้ว่า ข้าวจี่ชุปไข่สุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการปิ้งถึงจะได้กินเป็นสีที่น่าทาน




3. กลุ่มหวานเย็นชื่นใจ :
กลุ่มที่ 1  ผสมน้ำหวาน+น้ำเปล่า ใส่ลงไปในแก้วของเด็กๆแต่ละคน แล้วครูนำมารวมกันไว้ในกะละถ้วย
กลุ่มที่ 2  ตักน้ำแข็งใส่กะละมัง+ใส่เกลือ
กลุ่มที่ 3  นำถ้วยที่ใส่น้ำหวานมาวางในกะละมังที่ใส่น้ำแข็ง
กลุ่มที่ 4  น้ำหวานเกิดการแข็งตัวเมื่อโดนความเย็นจนกลายเป็นหวานเย็น

***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง
- กำหนดปัญหา
: ทำอย่างไรให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็นได้

- การตั้งสมมติฐาน
: ถ้าครูเอาน้ำหวานใส่ลงไปในกะละมังที่มีน้ำแข็งและเกลือ มันจะเกิดอะไรขึ้น

- การรวบรวมข้อมูล
: เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำหวาน

- สรุปผล

 : เด็กๆ ได้รู้ว่าเมื่อน้ำหวานโดนความเย็น ทำให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็น




^_^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู

                เลขที่ 7  นางสาว  กมลรัตน์   มาลัย   เรื่อง  ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร ?
        สรุปได้ว่า (In conclusion,)   ครูสร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำ เด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ เด็กก็จะออกแบบวาดภาพเรือ แล้วก็จะปั้นตามที่ออกแบบ

        พอทดลองปรากฎว่าเรือลอยน้ำได้ แล้วเด็กก้จะนำเสนอผลงานว่ากลุ่มปั้นอะไร ลอยได้หรือไม่ แล้วให้เทคนิคกับเพื่อนว่าทำอย่างไรดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้ และแก้ปัญหาโดยการปั้นขอบให้สูงขึ้นดินน้ำมันก้จะลอยน้ำได้จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้  ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเอง ซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็ก  และยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง




Skills : ทักษะ

- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำวิธีสอนทำ Cooking แก่เด็กปฐมวัยไปใช้ในการสอนเด็กได้
2. นำตัวอย่างการสอนหรือวิธีการทำ Cooking ไปปรับใช้พอเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การลงมือปฏิบัติ
5. วิเคราะห์แผนการสอน

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน เป็นนักเรียนให้กับกลุ่มเพื่อนที่ทำ Cooking

เพื่อน          แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม Cooking
                  โดยแต่ละคนก็เป็นทั้งเด็กและครูสอน ทุกคนมีความสามัคคีกับเพื่อนร่วมห้องเป็นอย่างดี

ครูผู้สอน     แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายการสอนทำ Cooking
                   ของแต่ละกลุ่มให้เข้าใจง่ายขึ้น และมีคำแนะนำการสอนเด็กทำ Cooking โดยให้เด็ก
                   ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday November 10 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^_^ การทำ Cooking ทาโกยากิ และ เวิลเฟิล

1. ทาโกยากิ :  การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง

- กำหนดปัญหา
: ทาโกยากิสุกได้อย่างไร

- การตั้งสมมติฐาน
: ทาโกยากิโดนความร้อนของเตาทำให้ทาโกยากิสุกได้

- การรวบรวมข้อมูล
: เมื่อทำทาโกยากิเสร็จเเล้วก็เอาทาโกยากิของเด็กเเต่ละคนมาวางเรียงกัน เราก็จะรู้ว่าเเต่ละจานนั้นมีสีที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเอาทาโกยากิปิ้งในเตานานเเค่ไหน ถ้าปล่อยไว้นานสีก็จะเหลืองเข้มๆถ้าปล่อยไว้ไม่นานสีก็จะเหลืองอ่อน

- สรุปผล
 : เด็กได้รู้ว่าทาโกยากิสุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการปิ้งถึงจะได้ทาโกยากิเป็นสีที่น่าทาน





2. เวิลเฟิล : การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง ความร้อน เมื่อเวิลเฟิลโดนความร้อนแล้ว จากแป้งเวิลเฟิลที่เป็นของเหลวเมื่อโดนความร้อนจากของเหลวจะกลายเป็นของแข็ง ทำให้ได้เวิฟเฟิลที่เป็นขนมหวานมาทานกัน





กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การกำหนดปัญหา/การตั้งคำถาม
2. การตั้งสมมติฐาน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การสรุปผล




Skills : ทักษะ

- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ



Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการเขียนมายแม๊ปปิ้งที่ถูกต้องนำไปใช้ในการวางแผนการเขียนแผน หรือ จดบันทึก
2. นำตัวอย่างการเขียนแผนการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง หรือ นำสิ่งที่ดีมาปรับใช้พอเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การวัด
5. วิเคราะห์แผนการสอน
6. ใช้กราฟฟิค / มายแม๊ปปิ้ง

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน 

เพื่อน          แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมCooking 
                  โดยแต่ละคนก็เป็นทั้งเด็กและครูสอน ทุกคนมีความสามัคคีกับเพื่อนร่วมห้องเป็นอย่างดี

ครูผู้สอน     แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายการสอนทำ Cooking 
                   ของแต่ละกลุ่มให้เข้าใจง่ายขึ้น และมีคำแนะนำการสอนเด็กทำ Cooking โดยให้เด็ก
                   ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน




วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday November 3 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^_^  วิเคราะห์การเขียนแผนการสอน

1. หน่วย " ยานพาหนะ "



2. หน่วย " ร่างกาย " 



3. หน่วย " ชุมชน "




4. หน่วย " ต้นไม้แสนรัก "




^_^  เกร็ดความรู้เพิ่มเติม




























Skills : ทักษะ

ร่วมกันวิเคราะห์การเขียนแผนการสอนการเขียนมายแม๊ปปิ้ง การทดลองวิทยาศาสตร์ และการทำ Cooking พร้อมกับมีการปรับแก้ / เพิ่มเติมเนื้อหา และแนวทาง วิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง


Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการเขียนมายแม๊ปปิ้งที่ถูกต้องนำไปใช้ในการวางแผนการเขียนแผน หรือ จดบันทึก
2. นำตัวอย่างการเขียนแผนการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง หรือ นำสิ่งที่ดีมาปรับใช้พอเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การวัด
5. วิเคราะห์แผนการสอน
6. ใช้กราฟฟิค / มายแม๊ปปิ้ง

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน          แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์การเขียนแผนการสอน
                  ของเพื่อนๆในห้องเรียน ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน     แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่าง วิเคราะห์แผนการสอนที่ถูก
                  ต้อง ชี้แนะแนวทางในการเขียนแผนที่สามารถบูรณาการได้หลากหลาย

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน