วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Notes Tuesday November 17 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14



The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^_^ การทำ Cooking ขนมโค ข้าวจี่ และหวานเย็นชื่นใจ

1. กลุ่มขนมโค :
ฐานที่ 1  ผสมแป้ง
ฐานที่ 2  ปั้นแป้ง+ใส่ไส้
ฐานที่ 3  นำแป้งที่ปั้นไว้ไปต้ม
ฐานที่ 4  เมื่อแป้งสุก แป้งก็จะลอยตัวขึ้นมา นำไปคลุกมะพร้าว

***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง
- กำหนดปัญหา
: เด็กๆ คิดว่า "ทำอย่างไรขนมโคถึงจะกินได้"

- การตั้งสมมติฐาน
: เด็กๆ คิดว่า "เมื่อนำขนมโคไปต้มแล้วจะเกิดอะไรขึ้น"

- การรวบรวมข้อมูล
: เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ สี ขนาด รูปทรงต่างๆของขนมโค

- สรุปผล

 : เด็กได้รู้ว่าขนมโคสุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการต้มถึงจะได้เป็นสีที่น่าทาน




2. กลุ่มข้าวจี่ :
กลุ่มที่ 1  ปั้นข้าวเหนียว ใส่ไส้หมูหยอง ใส่ไม้
กลุ่มที่ 2  นำไปปิ้งให้ข้าวเกาะตัวกัน
กลุ่มที่ 3  จากนั้นนำไปชุปไข่แล้วนำไปปิ้งจนพอใจแล้วนำมารับประทานได้เลย


***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- กำหนดปัญหา
: เด็กๆ คิดว่า "ทำอย่างไรให้ไข่สุก" หรือ "ทำอย่างไร่ไข่ถึงจะกินได้"

- การตั้งสมมติฐาน
: เมื่อข้าวชุบไข่โดนความร้อนของเตาจะเป็นอย่างไร?

- การรวบรวมข้อมูล
: เมื่อทำเสร็จเเล้วก็เอาของเด็กเเต่ละคนมาวางเรียงกัน เราก็จะรู้ว่าเเต่ละจานนั้นมีสีที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเอาทาโกยากิปิ้งในเตานานเเค่ไหน ถ้าปล่อยไว้นานสีก็จะเหลืองเข้มๆถ้าปล่อยไว้ไม่นานสีก็จะเหลืองอ่อน

- สรุปผล
 : เด็กๆ ได้รู้ว่า ข้าวจี่ชุปไข่สุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการปิ้งถึงจะได้กินเป็นสีที่น่าทาน




3. กลุ่มหวานเย็นชื่นใจ :
กลุ่มที่ 1  ผสมน้ำหวาน+น้ำเปล่า ใส่ลงไปในแก้วของเด็กๆแต่ละคน แล้วครูนำมารวมกันไว้ในกะละถ้วย
กลุ่มที่ 2  ตักน้ำแข็งใส่กะละมัง+ใส่เกลือ
กลุ่มที่ 3  นำถ้วยที่ใส่น้ำหวานมาวางในกะละมังที่ใส่น้ำแข็ง
กลุ่มที่ 4  น้ำหวานเกิดการแข็งตัวเมื่อโดนความเย็นจนกลายเป็นหวานเย็น

***การสอนทำ Cooking เป็นการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กเรื่อง
- กำหนดปัญหา
: ทำอย่างไรให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็นได้

- การตั้งสมมติฐาน
: ถ้าครูเอาน้ำหวานใส่ลงไปในกะละมังที่มีน้ำแข็งและเกลือ มันจะเกิดอะไรขึ้น

- การรวบรวมข้อมูล
: เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำหวาน

- สรุปผล

 : เด็กๆ ได้รู้ว่าเมื่อน้ำหวานโดนความเย็น ทำให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็น




^_^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู

                เลขที่ 7  นางสาว  กมลรัตน์   มาลัย   เรื่อง  ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร ?
        สรุปได้ว่า (In conclusion,)   ครูสร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ ปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำ เด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ เด็กก็จะออกแบบวาดภาพเรือ แล้วก็จะปั้นตามที่ออกแบบ

        พอทดลองปรากฎว่าเรือลอยน้ำได้ แล้วเด็กก้จะนำเสนอผลงานว่ากลุ่มปั้นอะไร ลอยได้หรือไม่ แล้วให้เทคนิคกับเพื่อนว่าทำอย่างไรดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้ และแก้ปัญหาโดยการปั้นขอบให้สูงขึ้นดินน้ำมันก้จะลอยน้ำได้จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้  ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเอง ซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็ก  และยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง




Skills : ทักษะ

- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำวิธีสอนทำ Cooking แก่เด็กปฐมวัยไปใช้ในการสอนเด็กได้
2. นำตัวอย่างการสอนหรือวิธีการทำ Cooking ไปปรับใช้พอเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การลงมือปฏิบัติ
5. วิเคราะห์แผนการสอน

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน เป็นนักเรียนให้กับกลุ่มเพื่อนที่ทำ Cooking

เพื่อน          แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม Cooking
                  โดยแต่ละคนก็เป็นทั้งเด็กและครูสอน ทุกคนมีความสามัคคีกับเพื่อนร่วมห้องเป็นอย่างดี

ครูผู้สอน     แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายการสอนทำ Cooking
                   ของแต่ละกลุ่มให้เข้าใจง่ายขึ้น และมีคำแนะนำการสอนเด็กทำ Cooking โดยให้เด็ก
                   ได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น