บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ
^_^ Presented article : นำเสนอบทความ
เลขที่ 5 นางสาว รัชดา เทพรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
สรุปได้ว่า (In conclusion,) : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่” เป็นคำถามที่นักการศึกษาและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านปฐมวัยในประเทศสอบถามมากมาย
จากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหาโดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบเนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงเเนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู สสวท. จึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นเหล่านี้ และได้ตั้งคณะทำงานมาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546 เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ
ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
เลขที่ 4 นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
สรุปได้ว่า (In conclusion,) : วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเราความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ดังนั้น กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวกกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ
เลขที่ 3 นางสาว ชนาภา คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สรุปได้ว่า (In conclusion,) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย เนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป
เลขที่ 22 นางสาว ชนากานต์ พงษ์สิทธิศักดิ์
เรื่อง อากาศ (Teaching Children about weather)
สรุปได้ว่า (In conclusion,) : จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด
เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
เลขที่ 22 นางสาว ชนากานต์ พงษ์สิทธิศักดิ์
เรื่อง อากาศ (Teaching Children about weather)
สรุปได้ว่า (In conclusion,) : จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด
เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
^_^ Research presentation : นำเสนองานวิจัย
เลขที่ 1 นางสาว จงรักษ์ หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุปได้ว่า (In conclusion,) การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์
ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์
จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
สรุปได้ว่า (In conclusion,) การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนเป็นการส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวล้วน ประกอบด้วยความคิดรวบยอดทางกายภาพ ซึ่งจะฝึกได้โดยอาศัยการสังเกตการทดลองและการตั้งคำถามประสบการณ์
ความมุ่งหมาย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กประถมเอาไว้ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเด็กปฐมวัยอายุ5 ถึง 6 ปีกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 180 คน
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1.ตัวแปรอิสระได้แก่กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.ตัวแปรตามได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย 2.1 การจัดหมด 2.2 การหาความสัมพันธ์
จากการที่เด็กได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนสังเกตพฤติกรรมต่างๆได้ดังนี้
1. เด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกห้องเรียนและมีความรักรือร้นโดยที่จะทำกิจกรรมเนื่องจากเป็นกิจกรรม ที่เรียนรู้สำรวจค้นหาข้อมูลนอกห้องเรียนด้วยตนเองเด็กมีความอยากรู้อยากเห็นบางกิจกรรม เด็กได้พบสิ่งแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าค้นคว้าจึงทำให้เด็กตื่นเต้น และอยากทำกิจกรรมซึ่งตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
2. เนื่องจากลักษณะของการจัดกิจกรรมกระบวนการนอกห้องเรียนเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กสามารถ สัมผัสจับต้อง ดมกลิ่นไ ด้ยินโดยอยู่ในพื้นฐานของการปฎิบัตินอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนได้รู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติ และรู้จักหวงแหนสมบัติของโรงเรียนโดยไม่เด็ดดอกไม้ไม่รังแกสัตว์ ที่พบเห็นและยังช่วย ดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้สวยงามอยู่เสมอ
^_^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 8 นางสาว กรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
สรุปได้ว่า (In conclusion,) (เรื่อง ไข่ ) ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง
(เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง น้ำมันพืชโปร่งเเสง
เลขที่ 8 นางสาว กรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์
สรุปได้ว่า (In conclusion,) (เรื่อง ไข่ ) ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง
(เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง น้ำมันพืชโปร่งเเสง
- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ
Adoption : การนำไปใช้
1. สามารถนำแนวทางการสอนจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ได้
2. นำตัวอย่างงานวิจัยไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย
3. นำบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไป มาประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการนำไปจัดกิจกรรมได้
Teaching Techniques : เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. วิเคราะห์แผนการสอน วิเคราะห์บทความ งานวิจัย และโทรทัศน์ครู
5. การยกตัวอย่าง
Assessment : การประเมิน
ตัวเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน นำเสนองานวิจัยที่ตนเองได้รับมอบหมาย
เพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ร่วมกันวิเคราะห์
บทความ งานวิจัย และโทร?ัศน์ครูที่เพื่อนๆมานำเสนอ ทุกคนมีความสามัคคีกับเพื่อน
ร่วมห้องเป็นอย่างดี
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย อธิบายแผนการสอนเพิ่มเติมเพื่อ
ให้นักศึกษานำไปเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนได้
ห้องเรียน ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น