วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Notes Tuesday October 27 2558


                                                     บันทึกการเรียนครั้งที่ 11                                                                                                                         


The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ -^ ร่วมกันวิเคราะห์ - สังเคราะห์ การทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และ ของเล่นวิทยาศาสตร์ 

1. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง  แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน ให้แต่ละกลุ่ม ให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน แล้วตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้ พร้อมกับระบายสีให้สวยงาม แล้วส่งตัวแทนในกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ตักน้ำใส่ถาดมากลุ่มละ 1 ถาด ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำดอกไม้ของตนเองที่ทำไว้ ลอยลงไปในถาดพร้อมๆกัน จากนั้นสังเกตและบันทึกผล
สรุปผลการทดลอง พบว่า ดอกไม้ของแต่ละกลุ่มมีการจม และลอย แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง - ลักษณะ การระบายสี การพับกระดาษ เป็นต้น 




2. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง  อาจารย์มีขวดน้ำ 2 ขวด ขวดแรกใส่น้ำเต็มขวด ซึ่งขวดที่ใส่น้ำมีการเจาะรูไล่ระดับตั้งแต่ สูง กลาง ต่ำ มีการปิดรูที่เจาะไว้ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาตั้งสมมติฐานว่า รูไหนจะพุ่งไกลกว่ากัน แลวครูก็เปิดรูตามลำดับ ปรากฎว่า รูกลาง พุ่งไกลกว่ารูสูง และรูต่ำ ซึ่งเป็นเพราะ น้ำรูกลางมีความดันน้ำที่มากกว่ารูอื่นๆ จึงทำให้รูกลางพุ่งไกลกว่า




3. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ

วิธีการทดลอง  อาจารย์มีขวดเปล่าที่เจาะรู มีสายยางต่อจากด้านในออกมาข้างนอกซึ่งปลายสายยางอีกด้านหนึ่งจะติดอยู่กับดินน้ำมันโดยเอาปลายสายยางขึ้น จากนั้นเทน้ำลงไปในขวดจนเต็มขวดสังเกตดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น? แล้วลองปิดฝาขวดน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
สรุปผลการทดลอง พบว่า น้ำในขวดที่เทลงไปไหลไปตามสายยางแล้วออกตรงปลายสายยางอีกด้านหนึ่ง คล้ายกับน้ำพุ แต่ เมื่อเราปิดฝาขวดน้ำไว้ ปรากฎว่าน้ำไม่ไหลออกทางสายยางเลย เพราะอากาศไม่ได้เข้าไปในขวดน้ำเหมือนตอนที่เปิดฝาขวดไว้ จึงทำให้น้ำไม่ไหลออกมา (อากาศเข้าไปในขวดน้ำทำให้น้ำหาทางออกจึงไหลไปตามสายยางแล้วพุ่งออกมา หรือ ลองนำถาดที่เป็นปลายสายยางวางลงต่ำ ปรากฎว่า น้ำยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม) จึงทำให้เราเห็นว่า น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ





4. กิจกรรม : ลูกยางกระดาษ

วิธีการทดลอง  ให้นักศึกษาพับกระดาษเป็นส่วนๆ 8 ส่วน จากนั้นตัดกระดาษด้านหนึ่งออกเป็น 2 ส่วน แล้วพับปลายกระดาษอีกด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาตามใจชอบจากนั้นเอาคลิปหนีบตรงส่วนที่พับ แล้วให้ออกไปโยนดู ปรากฎว่า ลูกยางของแต่ละคนมีการหมุน การตกของลูกยาง ที่แตกต่างกัน



5. กิจกรรม : ไหมพรมเต้นระบำ

วิธีการทดลอง  อาจารย์แจกอุปกรณ์ ได้แก่ หลอด ไหมพรม จากนั้นให้นักศึกษาเอาไหมพรมสอดเข้าไปในหลอดแล้วมัดปม แล้วให้นักศึกษาลองเป่าหลอดดู 
พบว่า ไหมพรมที่อยู่ในหลอดมีการเคลื่อนไหวจะแรงหรือเบาขึ้นอยู่กับแรงที่เป่า


6. กิจกรรม : เทียนไข

วิธีการทดลอง  อาจารย์มีอุปกรณ์ คือ เทียนไข แก้ว ถ้วย ไม้ขีดไฟ จากนั้นอาจารย์ก็แนะนำวิธีการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเริ่มจากการแนะนำอุปกรณ์ ถามเด็ก กำหนดปัญหาแล้วนำเข้าสู่การทดลอง อาจารย์จุดเทียนไขที่เตรียมไว้ นำมาตั้งกับถ้วย แล้วเอาแก้วครอบ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเทียน พบว่า เทียนดับ 



^_^ เขียนแผนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ และ การทำ Cooking





Skills : ทักษะ

1. ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking
3. ระดมความคิดการเขียนแผนการสอนการทดลอง และ การทำ Cooking
4. ทักษะการสังเกต

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการทดลอง หรือ ของเล่นวิทยาศาสตร์ แบบง่ายเด็กปฐมวัยสามารถทำได้ มาประยุกต์ใช้และนำมาสอนในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของการทำ Cooking ของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มมาเป็นแนวทางในการนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน
6. มีการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และ ของเล่นวิทยาศาสตร์

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                 มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์กิจกรรมที่อาจารย์
                 นำมาให้ศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                 คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่าง วิเคราะห์แผนการสอนที่ถูก
                 ต้อง

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน



วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Notes Tuesday October 20 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ -^ Research presentation : นำเสนองานวิจัย

เลขที่ 10 นางสาว ปรางชมพู  บุญชม
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

: ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สรุปได้ว่า (In conclusion,)
          วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่า"กระบวนการทางวิทยาศาสตร์" เด็กสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
           การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้

เลขที่ 12 นางสาว ชนากานต์  แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุปได้ว่า (In conclusion,)
       ขั้นนำ  ครูใช้การเล่านิทานพร้อมชวนเด็กคุย ใช้คำถามถามเด็กเพื่อให้เด็กสื่อสารออกมา
                   แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
    ขั้นสอน  ครูแบ่งกลุ่มเด็ก จากนั้นครูแจกอุปกรณ์ให้กับเด็ก ครูชี้แจงและแนะนำวิธีการต่างๆ
                  โดยใช้คำถามในการสื่อให้เด็กทำกิจกรรม
    ขั้นสรุป  ครูถามเด็กอีกครั้งหลังจากการทำกิจกรรมการและเพิ่มเติมความรู้ให้แก่เด็กและสรุปผลจาก
                  นั้นครูประเมินเด็กจากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กจากการทำกิจกรรม

เก็บตก เลขที่ 21 นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธ์
            เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สรุปได้ว่า (In conclusion,)
ปัญหา : วิจัยวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของเด็ก
ความหมาย/ความคำสำคัญ : เพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยการจำแนกหลายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล การประเมินค่า
ประชากร : เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี
กลุ่มตัวอย่าง: เด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน

Research Framework : กรอบแนวคิดการวิจัย


ตัวอย่าง แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ชุดที่ 1 การวิเคราะห์



          การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด วิจารณญาณได้โดยเก็เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้ สังเกตวัสดุ-อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการแระเมินค่า ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด้กคิดขณะทำกิจกรรมดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด-วิจารณญาณสูงขึ้น


^_^ ระดมความคิดเกี่ยวกับการทำ Cooking จากหน่วยของตนเอง

หน่วยยานพาหนะ : ทำทาโกยากิ
หน่วยต้นไม้แสนรัก : ทำพิซซ่า
หน่วยร่างกายของฉัน : ทำขนมโค
หน่วยชุมชน : ทำข้าวจี่
หน่วยน้ำ : ทำหวานเย็นชื่นใจ






^_^ ระดมความคิดเกี่ยวกับการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นนำ           ครูใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กคิด เป็นต้น
ขั้นสอน        ครูใช้คำถามนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสรุป        ครูและเด็กร่วมกันสรุปผล พร้อมให้เด็กสื่อสารโดยการเล่าจากการทำกิจกรรมต่างๆ






Skills : ทักษะ

1. นำเสนองานวิจัย พร้อมวิเคราะห์แผนการสอนในงานวิจัย
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องจากงานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของงานวิจัยแต่ละเรื่องของเพื่อนที่นำเสนอมาเป็นแนวทางในจัดทำแผนการสอน

Teaching Techniques :  เทคนิคการสอน

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์งานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
                  รวมทั้งร่วมกันวิเคราะห์แผนการสอนที่อยู่ในงานวิจัยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
                  ภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่าง วิเคราะห์แผนการสอนที่ถูก
                  ต้องระหว่างนำเสนองานวิจัย

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน





วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Notes Tuesday October 13 2558





บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ -^ นำเสนอบทความ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เลขที่ 14 นางสาว สุทธิกานต์  กางพาพันธ์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?

        สรุปได้ว่า (In conclusion,)  กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?” เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
         
         กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเราอาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ (ลม) และไฟ (พลังงาน) จากการทดลองค้นคว้าง่ายๆ ตามศักยภาพของเด็ก โดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน


เลขที่ 15 นางสาว ศุทธินี  โนนริบูรณ์
เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น

        สรุปได้ว่า (In conclusion,)  สสวท. ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัยในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
ครูจึงนำนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ไปศึกษาการล่องแก่ง ณ หมอกฟ้าใสรีสอร์ท โดยมีการจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง


เลขที่ 13 นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก

        สรุปได้ว่า (In conclusion,) การสอนลูกเรื่องแม่เหล็ก  เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงดึงดูดนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กจึงเป็นการท้าทาย ให้เด็กอยากรู้อยากเห็น สนใจและติดตามผลการทดลองการดึงดูดของแม่เหล็กชนิดต่างๆ


^_^ ทำกิจกรรมนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง 

โดยให้ดูว่า ของเล่นชิ้นนั้นทำจากอะไร เล่นยังไง และเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งแต่ละคนก็ได้ออกมานำเสนอหน้าห้อง มีทั้งเรื่อง ลม เสียง แสง แรงโน้มถ่วง แม่เหล็ก เป็นต้น 

^_^  นำเสนอของเล่น การทดลองวิทยาศาสตร์ ของเล่นตามมุม จากหน่วยการเรียนรู้ที่เราได้เขียนกันไว้คาบที่แล้ว คือ หน่วย ยานพาหนะ ชุมชน ร่างกายของฉัน ต้นไม้แสนรัก เป็นต้น



Skills : ทักษะ

1. นำเสนอโทรทัศน์ครูและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการทดลองจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของเพื่อนๆแต่กลุ่มมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนของเราได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์
                  ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอ

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน



Notes Tuesday October 6 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ _ ^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู

เลขที่  18 นางสาว เวรุวรรณ  ชูกลิ่น
เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

สรุปได้ว่า (In conclusion,) กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมีวิธีการกระตุ้นด้วยของเล่น การทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ โดยของเล่นหรือการทดลองควรใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย หรือ เป็นวัสดุเหลือใช้
ตัวอย่างกิจกรรม
1. แรงลอยตัว  กิจกรรม คือ ทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ และ แรงดันอากาศ กิจกรรม คือ การเลี้ยงลูกด้วยนม
3. ถุงพลาสติกมหรรศจรรรย์
4. ความดันยกของ

เลขที่ 17 นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด
เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัว

สรุปได้ว่า  (In conclusion,)  ครูพาเด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนหลังจากเลิกแถวหน้าเสาธงทุกวัน เพื่อให้เด็กได้สำรวจว่า นี่คือหญ้า นี่คือต้นไม้-ดอกไม้ เป็นต้น ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น ครูสอนเด็กหน่วย หญ้า เรื่อง หญ้าทำไมถึงกั้นน้ำได้ ครูก็จะให้เด็กเดินสำรวจหญ้าชนิดต่างๆรอบโรงเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักกสังเกตว่า หญ้าชนิดใดที่สามารถกั้นน้ำไม่ให้ไหลผ่านมาได้ เป็นต้น

เลขที่ 16 นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว
เรื่อง  นารีวุฒบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  ครูจัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาล โดยให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์จากอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เป็นวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้คิด-วิเเคราะห์ เปรียบเทียบ ในการทดลองวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างกิจกรรม เช่น

1. กิจกรรมตัวทำละลาย  ครูจะวางอุปกรณ์ให้เด็กดูแล้วถามเด็ก เพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษา ใช้การสังเกตอุปกรณ์ที่ครูนำมาวางไว้ หลักการ คือ ให้เด็กทดลองการละลายของเกลือ  น้ำตาล ทราย แล้วใช้คำถามให้เด็กได้คิด-วิเคราะห์จากการสังเกตการละลายของวัตถุแต่ละชนิดที่แตกต่างกันก่อน และ หลังการทดลอง จากนั้นสรุปได้ว่า เกลือ และ น้ำตาล สามารถละลายน้ำได้

2. กิจกรรมจมหรือลอย  ครูให้เด็กสังเกตน้ำมันทำไมไม่ผสมกับน้ำ เป็นการสอนให้เด็กได้ตั้งคำถาม สังเกตการผสมของน้ำและน้ำมัน สรุปหลังการทดลองได้ว่า น้ำมันมีมวลที่น้อยกว่าน้ำ ทำให้น้ำและน้ำมันผสมกันไม่ได้

^_^ ร่วมกันวางแผนและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้

*** กลุ่มเราได้สาระที่ควรรู้คือ ธรรมชาตรอบตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้คือ ยานพาหนะ








Skills : ทักษะ

1. นำเสนอโทรทัศน์ครูและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการทดลองจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของเพื่อนๆแต่กลุ่มมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนของเราได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์
                  ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอ

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน






สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย   การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
               โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
               (Process Science using creative forms of artistic activity.)


ผู้เขียนวิจัย ณัฐชุดา  สาครจริญ  ต่อ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พ.ศ. 2548

ความเป็นมาของวิจัย

           จากการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยโดยใช้มาตรฐานสากลในการจัดอันดับปี 2544 พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 จากทั้งหมด 49 ประเทศแสดงถึงการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เด็กไทยไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
           การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจจากการทำกิจกรรม

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมติฐาน
       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที

วิธีดำเนินการวิจัย
1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ                                                                                                                       1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา       2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการวิจัย

1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนทำการทดลอง
2.ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เอการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันในวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี วันละ 40 น.รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09:30 – 10:10 น
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันในการทำหลังทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาตรวจให้คะแนนแลนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย

       จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

โทรทัศน์ครู


โทรทัศน์ครู เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้จากกิจกรรม 5 ประสาทสัมพัส
       (The basic building blocks of learning activities five senses.)


โดย  คุณครู เด่นดวง   ธรรมทวี  โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ  จังหวัด ศรีสะเกษ


              ในเรื่องนี้  คุณครู เด่นดวง   ธรรมทวี  ได้กล่าวว่า  เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องต่างๆ  ครูจึงมีหน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น  อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( หู ตา จมูก ลิ้น และกาย )  ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก  เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว  ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนขั้นสูงต่อไป  อาทิเช่น
           
               -  การมอง   เด็กสามารถอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร  นั้นคือ  เราใช้ตาในการมองเห็น  ซึ่งตาเป็นประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งนั้นเอง  ทำให้เด็กได้รู้เรื่องขนาด  รูปทรง  เล็ก-ใหญ่  หนา-บาง  เมื่อเด็กรู้แล้ว  ก็ควรปล่อยให้เด็กเล่นเพื่อเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการคาดคะเน
               -  การฟัง   โดยการใช้เสียงที่ไม่เหมือนกัน  ครูจะเขย่ากระบอกเสียงให้เด็กฟังก่อน  โดยเริ่มจากเสียงที่ดังที่สุดไปยังเสียงที่เบาที่สุด   อาจจะทำเป็น 2 ชุด  แล้วให้เด็กบอกความแตกต่างและจับคู่เสียงที่ดังเท่ากัน  นอกจากกระบอกเสียงแล้วยังสามารถใช้เปลือกหอยขนาดต่างๆ  ได้
               - การสัมผัส   การใช้ผ้าปิดตาเด็กแล้วให้เด็กสัมผัสผ้าที่มีเนื้อผ้าที่แตกต่างกัน  เด็กจะได้รู้ลักษณะของผ้าที่มีความหยาบ  ความหนา-บาง  ความลื่น  ความนุ่ม  เด็กสามารถบอกความแตกต่างในสิ่งที่เขาสัมผัสได้
               - การดมกลิ่น   การนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม  เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือกลิ่นอะไร  แล้วให้เด้กจับคู่  เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจของการดมกลิ่น
               - การชิมรส   โดยการนำรสเค็ม  รสเปรี้ยว  รสหวาน  รสขม  ให้เด็กได้ชิมรส  แล้วดูจากหน้าตาที่แสดงออกเพื่อเป็นการให้เด็กนำประสบการณ์เดิมที่เด็กได้รับมาตอบคำถาม  และให้เด็กคิดว่าเด็กๆ เคยกินอะไรที่มีรสต่างๆ นั้นบ้าง