^ -^ ร่วมกันวิเคราะห์ - สังเคราะห์ การทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และ ของเล่นวิทยาศาสตร์
1. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ
วิธีการทดลอง แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน ให้แต่ละกลุ่ม ให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน แล้วตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้ พร้อมกับระบายสีให้สวยงาม แล้วส่งตัวแทนในกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ตักน้ำใส่ถาดมากลุ่มละ 1 ถาด ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำดอกไม้ของตนเองที่ทำไว้ ลอยลงไปในถาดพร้อมๆกัน จากนั้นสังเกตและบันทึกผล
สรุปผลการทดลอง พบว่า ดอกไม้ของแต่ละกลุ่มมีการจม และลอย แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง - ลักษณะ การระบายสี การพับกระดาษ เป็นต้น
2. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ
วิธีการทดลอง อาจารย์มีขวดน้ำ 2 ขวด ขวดแรกใส่น้ำเต็มขวด ซึ่งขวดที่ใส่น้ำมีการเจาะรูไล่ระดับตั้งแต่ สูง กลาง ต่ำ มีการปิดรูที่เจาะไว้ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาตั้งสมมติฐานว่า รูไหนจะพุ่งไกลกว่ากัน แลวครูก็เปิดรูตามลำดับ ปรากฎว่า รูกลาง พุ่งไกลกว่ารูสูง และรูต่ำ ซึ่งเป็นเพราะ น้ำรูกลางมีความดันน้ำที่มากกว่ารูอื่นๆ จึงทำให้รูกลางพุ่งไกลกว่า
3. กิจกรรม : เรื่อง น้ำ
วิธีการทดลอง อาจารย์มีขวดเปล่าที่เจาะรู มีสายยางต่อจากด้านในออกมาข้างนอกซึ่งปลายสายยางอีกด้านหนึ่งจะติดอยู่กับดินน้ำมันโดยเอาปลายสายยางขึ้น จากนั้นเทน้ำลงไปในขวดจนเต็มขวดสังเกตดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น? แล้วลองปิดฝาขวดน้ำจะเกิดอะไรขึ้น?
สรุปผลการทดลอง พบว่า น้ำในขวดที่เทลงไปไหลไปตามสายยางแล้วออกตรงปลายสายยางอีกด้านหนึ่ง คล้ายกับน้ำพุ แต่ เมื่อเราปิดฝาขวดน้ำไว้ ปรากฎว่าน้ำไม่ไหลออกทางสายยางเลย เพราะอากาศไม่ได้เข้าไปในขวดน้ำเหมือนตอนที่เปิดฝาขวดไว้ จึงทำให้น้ำไม่ไหลออกมา (อากาศเข้าไปในขวดน้ำทำให้น้ำหาทางออกจึงไหลไปตามสายยางแล้วพุ่งออกมา หรือ ลองนำถาดที่เป็นปลายสายยางวางลงต่ำ ปรากฎว่า น้ำยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม) จึงทำให้เราเห็นว่า น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ
4. กิจกรรม : ลูกยางกระดาษ
วิธีการทดลอง ให้นักศึกษาพับกระดาษเป็นส่วนๆ 8 ส่วน จากนั้นตัดกระดาษด้านหนึ่งออกเป็น 2 ส่วน แล้วพับปลายกระดาษอีกด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาตามใจชอบจากนั้นเอาคลิปหนีบตรงส่วนที่พับ แล้วให้ออกไปโยนดู ปรากฎว่า ลูกยางของแต่ละคนมีการหมุน การตกของลูกยาง ที่แตกต่างกัน
5. กิจกรรม : ไหมพรมเต้นระบำ
วิธีการทดลอง อาจารย์แจกอุปกรณ์ ได้แก่ หลอด ไหมพรม จากนั้นให้นักศึกษาเอาไหมพรมสอดเข้าไปในหลอดแล้วมัดปม แล้วให้นักศึกษาลองเป่าหลอดดู
พบว่า ไหมพรมที่อยู่ในหลอดมีการเคลื่อนไหวจะแรงหรือเบาขึ้นอยู่กับแรงที่เป่า
6. กิจกรรม : เทียนไข
วิธีการทดลอง อาจารย์มีอุปกรณ์ คือ เทียนไข แก้ว ถ้วย ไม้ขีดไฟ จากนั้นอาจารย์ก็แนะนำวิธีการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งเริ่มจากการแนะนำอุปกรณ์ ถามเด็ก กำหนดปัญหาแล้วนำเข้าสู่การทดลอง อาจารย์จุดเทียนไขที่เตรียมไว้ นำมาตั้งกับถ้วย แล้วเอาแก้วครอบ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเทียน พบว่า เทียนดับ
^_^ เขียนแผนการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์ และ การทำ Cooking
Skills : ทักษะ
1. ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking
3. ระดมความคิดการเขียนแผนการสอนการทดลอง และ การทำ Cooking
4. ทักษะการสังเกต
Adoption : การนำไปใช้
1. สามารถนำการทดลอง หรือ ของเล่นวิทยาศาสตร์ แบบง่ายเด็กปฐมวัยสามารถทำได้ มาประยุกต์ใช้และนำมาสอนในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของการทำ Cooking ของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มมาเป็นแนวทางในการนำไปสอนเด็กปฐมวัยได้
Teaching Techniques : เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน
6. มีการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และ ของเล่นวิทยาศาสตร์
Assessment : การประเมิน
ตัวเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
เพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์กิจกรรมที่อาจารย์
นำมาให้ศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่าง วิเคราะห์แผนการสอนที่ถูก
ต้อง
ห้องเรียน ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น