บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
^ -^ Research presentation : นำเสนองานวิจัย
เลขที่ 10 นางสาว ปรางชมพู บุญชม
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
: ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ ศรีจักร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สรุปได้ว่า (In conclusion,)
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่า"กระบวนการทางวิทยาศาสตร์" เด็กสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้
เลขที่ 12 นางสาว ชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สรุปได้ว่า (In conclusion,)
ขั้นนำ ครูใช้การเล่านิทานพร้อมชวนเด็กคุย ใช้คำถามถามเด็กเพื่อให้เด็กสื่อสารออกมา
แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน ครูแบ่งกลุ่มเด็ก จากนั้นครูแจกอุปกรณ์ให้กับเด็ก ครูชี้แจงและแนะนำวิธีการต่างๆ
โดยใช้คำถามในการสื่อให้เด็กทำกิจกรรม
ขั้นสรุป ครูถามเด็กอีกครั้งหลังจากการทำกิจกรรมการและเพิ่มเติมความรู้ให้แก่เด็กและสรุปผลจาก
นั้นครูประเมินเด็กจากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กจากการทำกิจกรรม
ขั้นนำ ครูใช้การเล่านิทานพร้อมชวนเด็กคุย ใช้คำถามถามเด็กเพื่อให้เด็กสื่อสารออกมา
แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสอน ครูแบ่งกลุ่มเด็ก จากนั้นครูแจกอุปกรณ์ให้กับเด็ก ครูชี้แจงและแนะนำวิธีการต่างๆ
โดยใช้คำถามในการสื่อให้เด็กทำกิจกรรม
ขั้นสรุป ครูถามเด็กอีกครั้งหลังจากการทำกิจกรรมการและเพิ่มเติมความรู้ให้แก่เด็กและสรุปผลจาก
นั้นครูประเมินเด็กจากการสังเกต และจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กจากการทำกิจกรรม
เก็บตก เลขที่ 21 นางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์
เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
สรุปได้ว่า (In conclusion,)
ปัญหา : วิจัยวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณของเด็ก
ความหมาย/ความคำสำคัญ : เพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยการจำแนกหลายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล การประเมินค่า
ประชากร : เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี
กลุ่มตัวอย่าง: เด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน
Research Framework : กรอบแนวคิดการวิจัย
ตัวอย่าง แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ชุดที่ 1 การวิเคราะห์
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการคิด วิจารณญาณได้โดยเก็เป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง ลักษณะของกิจกรรมเด็กจะได้ สังเกตวัสดุ-อุปกรณ์ วางแผนการทดลอง สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง และสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนเอง ทำให้เกิดการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การใช้เหตุผล และการแระเมินค่า ครูมีบทบาทในการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด้กคิดขณะทำกิจกรรมดังนั้นเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จึงมีพัฒนาการคิด-วิจารณญาณสูงขึ้น
^_^ ระดมความคิดเกี่ยวกับการทำ Cooking จากหน่วยของตนเอง
หน่วยยานพาหนะ : ทำทาโกยากิ
หน่วยต้นไม้แสนรัก : ทำพิซซ่า
หน่วยร่างกายของฉัน : ทำขนมโค
หน่วยชุมชน : ทำข้าวจี่
หน่วยน้ำ : ทำหวานเย็นชื่นใจ
^_^ ระดมความคิดเกี่ยวกับการสอนการทดลองวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ ครูใช้คำถาม ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กคิด เป็นต้น
ขั้นสอน ครูใช้คำถามนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันสรุปผล พร้อมให้เด็กสื่อสารโดยการเล่าจากการทำกิจกรรมต่างๆ
Skills : ทักษะ
1. นำเสนองานวิจัย พร้อมวิเคราะห์แผนการสอนในงานวิจัย
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking
Adoption : การนำไปใช้
1. สามารถนำการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องจากงานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของงานวิจัยแต่ละเรื่องของเพื่อนที่นำเสนอมาเป็นแนวทางในจัดทำแผนการสอน
Teaching Techniques : เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน
Assessment : การประเมิน
ตัวเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
เพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์งานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
รวมทั้งร่วมกันวิเคราะห์แผนการสอนที่อยู่ในงานวิจัยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
ภายในห้องเรียน
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่าง วิเคราะห์แผนการสอนที่ถูก
ต้องระหว่างนำเสนองานวิจัย
ห้องเรียน ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น