บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ
^ -^ นำเสนอบทความ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 14 นางสาว สุทธิกานต์ กางพาพันธ์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
สรุปได้ว่า (In conclusion,) กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?” เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเราอาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ (ลม) และไฟ (พลังงาน) จากการทดลองค้นคว้าง่ายๆ ตามศักยภาพของเด็ก โดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
เลขที่ 15 นางสาว ศุทธินี โนนริบูรณ์
เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น
สรุปได้ว่า (In conclusion,) สสวท. ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัยในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
ครูจึงนำนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ไปศึกษาการล่องแก่ง ณ หมอกฟ้าใสรีสอร์ท โดยมีการจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก
สรุปได้ว่า (In conclusion,) การสอนลูกเรื่องแม่เหล็ก เป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงดึงดูดนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กจึงเป็นการท้าทาย ให้เด็กอยากรู้อยากเห็น สนใจและติดตามผลการทดลองการดึงดูดของแม่เหล็กชนิดต่างๆ
^_^ ทำกิจกรรมนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง
โดยให้ดูว่า ของเล่นชิ้นนั้นทำจากอะไร เล่นยังไง และเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งแต่ละคนก็ได้ออกมานำเสนอหน้าห้อง มีทั้งเรื่อง ลม เสียง แสง แรงโน้มถ่วง แม่เหล็ก เป็นต้น
Skills : ทักษะ
1. นำเสนอโทรทัศน์ครูและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้
Adoption : การนำไปใช้
1. สามารถนำการทดลองจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของเพื่อนๆแต่กลุ่มมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนของเราได้
Teaching Techniques : เทคนิคการสอน
1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
Assessment : การประเมิน
ตัวเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
เพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์
ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
ครูผู้สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอ
ห้องเรียน ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น