วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Notes Tuesday October 6 2558



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

The knowledge gained : ความรู้ที่ได้รับ

^ _ ^ Teacher presentation : นำเสนอโทรทัศน์ครู

เลขที่  18 นางสาว เวรุวรรณ  ชูกลิ่น
เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

สรุปได้ว่า (In conclusion,) กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมีวิธีการกระตุ้นด้วยของเล่น การทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ โดยของเล่นหรือการทดลองควรใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย หรือ เป็นวัสดุเหลือใช้
ตัวอย่างกิจกรรม
1. แรงลอยตัว  กิจกรรม คือ ทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ และ แรงดันอากาศ กิจกรรม คือ การเลี้ยงลูกด้วยนม
3. ถุงพลาสติกมหรรศจรรรย์
4. ความดันยกของ

เลขที่ 17 นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด
เรื่อง วัยอนุบาลเรียนวิทยาศาสตร์จากสิ่งรอบตัว

สรุปได้ว่า  (In conclusion,)  ครูพาเด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนหลังจากเลิกแถวหน้าเสาธงทุกวัน เพื่อให้เด็กได้สำรวจว่า นี่คือหญ้า นี่คือต้นไม้-ดอกไม้ เป็นต้น ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น ครูสอนเด็กหน่วย หญ้า เรื่อง หญ้าทำไมถึงกั้นน้ำได้ ครูก็จะให้เด็กเดินสำรวจหญ้าชนิดต่างๆรอบโรงเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักกสังเกตว่า หญ้าชนิดใดที่สามารถกั้นน้ำไม่ให้ไหลผ่านมาได้ เป็นต้น

เลขที่ 16 นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว
เรื่อง  นารีวุฒบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

สรุปได้ว่า (In conclusion,)  ครูจัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาล โดยให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์จากอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เป็นวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้คิด-วิเเคราะห์ เปรียบเทียบ ในการทดลองวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างกิจกรรม เช่น

1. กิจกรรมตัวทำละลาย  ครูจะวางอุปกรณ์ให้เด็กดูแล้วถามเด็ก เพื่อให้เด็กได้ใช้ภาษา ใช้การสังเกตอุปกรณ์ที่ครูนำมาวางไว้ หลักการ คือ ให้เด็กทดลองการละลายของเกลือ  น้ำตาล ทราย แล้วใช้คำถามให้เด็กได้คิด-วิเคราะห์จากการสังเกตการละลายของวัตถุแต่ละชนิดที่แตกต่างกันก่อน และ หลังการทดลอง จากนั้นสรุปได้ว่า เกลือ และ น้ำตาล สามารถละลายน้ำได้

2. กิจกรรมจมหรือลอย  ครูให้เด็กสังเกตน้ำมันทำไมไม่ผสมกับน้ำ เป็นการสอนให้เด็กได้ตั้งคำถาม สังเกตการผสมของน้ำและน้ำมัน สรุปหลังการทดลองได้ว่า น้ำมันมีมวลที่น้อยกว่าน้ำ ทำให้น้ำและน้ำมันผสมกันไม่ได้

^_^ ร่วมกันวางแผนและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้

*** กลุ่มเราได้สาระที่ควรรู้คือ ธรรมชาตรอบตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้คือ ยานพาหนะ








Skills : ทักษะ

1. นำเสนอโทรทัศน์ครูและเขียนหน่วยการเรียนรู้/สาระที่ควรรู้
2. ระดมความคิด คิด-วิเคราะห์ ในการเขียนสาระการเรียนรู้

Adoption : การนำไปใช้

1. สามารถนำการทดลองจากโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
2. นำตัวอย่างหรือแนวทางการเขียนหน่วย / สาระที่ควรรู้ ของเพื่อนๆแต่กลุ่มมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการสอนของเราได้

Teaching Techniques : เทคนิคการสอน

1. การใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม

Assessment : การประเมิน

ตัวเอง        แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
                  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ ของเล่นวิทยาศาสตร์
                  ของเพื่อนอีกเซ็คหนึ่ง ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

ครูผู้สอน    แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
                  คอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างระหว่างนำเสนอ

ห้องเรียน   ห้องสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อมใช้งาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น