ชื่อวิจัย การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
(Process Science using creative forms of artistic activity.)
ผู้เขียนวิจัย ณัฐชุดา สาครจริญ ต่อ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พ.ศ. 2548
ความเป็นมาของวิจัย
จากการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยโดยใช้มาตรฐานสากลในการจัดอันดับปี 2544 พบว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 จากทั้งหมด 49 ประเทศแสดงถึงการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เด็กไทยไม่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรการศึกษาไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับนี้จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ตามวัยและเกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจจากการทำกิจกรรม
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สมมติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมรูปและศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 5-6 ปี ร.ร.สามเสนนอก กทม. จำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
วิธีดำเนินการวิจัย
1.กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.เก็บรวบรวมข้อมูล
4.ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 24 เรื่อง เช่น รถ ผักผลไม้ อาหาร เวลา 2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรบเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนทำการทดลอง
2.ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เอการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันในวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี วันละ 40 น.รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09:30 – 10:10 น
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันในการทำหลังทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาตรวจให้คะแนนแลนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
จากผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่รับ 0.1 และอยู่ในระดับดีทุกทักษะโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่า การจัดประสบการณ์กิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น